top of page

หน่วยที่ 1 งานบริการและซ่อมระบบไฟฟ้ากำลัง

1.1 ระบบไฟฟ้ากำลัง

1.2 การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในอาคารเบื้องต้น

1.3 การซ่อมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้ากำลัง

สาระสำคัญ

สาระสำคัญ การบริการและซ่อมระบบไฟฟ้ากำลัง หมายถึง การให้บริการซ่อม บำรุง ปรับปรุงระบบไฟฟ้า ใน บ้านพักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน ตลอดจนการขยายเพิ่มเติม ระบบไฟฟ้า ให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้า บ้านพักอาศัย และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ประหยัด งบประมาณในการติดตั้ง การบำรุงรักษา และค่าพลังงานไฟฟ้า

องค์ประกอบของระบบไฟฟ้า

1. แหล่งผลิตไฟฟ้า (Electrical Generation)
1.1 โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน
1.2 โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ
1.3 โรงงานไฟฟ้าพลังงานทดแทน 

2. ระบบส่งจ่ายไฟฟ้ากำลัง (Transmission)
หมายถึง ระบบไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าจนถึงสถานีไฟฟ้าของระบบจำหน่ายไฟฟ้าหรือจนถึงสถานีไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วย
2.1 สายส่งไฟฟ้าแบ่งเป็นตามระดับแรงดันไฟฟ้า
2.2 หม้อแปลงไฟฟ้า 

3. ระบบจำหน่ายไฟฟ้า (Distribution)
หมายถึง ระบบที่นำไฟฟ้าไปสู่ผู้ใช้ไฟฟ้า ประกอบด้วย
3.1 สายจำหน่ายไฟฟ้าแบ่งเป็นตามระดับแรงดัน 
3.2 หม้อแปลงไฟฟ้า ทำหน้าที่เพิ่มหรือลดระดับแรงดันไฟฟ้าเพื่อให้สามารถนำไปใช้กับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในอาคารเบื้องต้น

เพื่อความปลอดภัย ในการใช้ไฟฟ้า เราควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน โดยเราสามารถ ใช้หลักการทาง ซ่อมบำรุง

มาเป็นหลักปฏิบัติ 

1. การตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัส เราสามารถตรวจสภาพการทำงาน โดยการดูสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า

2. ตรวจสอบด้วยเครื่องมือทดสอบ การตรวจสอบมักมีมาตรฐานเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าอุปกรณ์นั้น สามารถ ใช้งานต่อได้หรือไม่ 

วิธีการใช้ Test Lamp หรือไขควงวัดไฟ

1. ใช้มือข้างที่ถนัด จับที่ด้ามไขควง
2. ใช้นิ้วที่ถนัดกดที่ด้ามไขควง
3. นำปลายด้านไขควงที่เป็นโลหะจี้ที่จุดที่คิดว่ามีกระแสไหลผ่าน
4. หากมีกระแสไหลผ่านด้ามจะสว่าง หากไม่มีกระแสไหลผ่านไฟที่ด้ามไม่ติด

การตรวจเช็คสภาพของสายไฟ

สายไฟนับเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ มีความสำคัญในระบบไฟฟ้า การเลือกสายไฟให้เหมาะสมกับงานตลอดถึงการติดตั้งย่อมมีผล ต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ไฟฟ้า บทความนี้ทางฟอนมีหลักเบื้องต้น 

ความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า

เหตุที่ทำให้สายไฟเสื่อมสภาพอาจมีหลายสาเหตุสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. อุณหภูมิทั้งสภาวะแวดล้อมในการใช้งานและที่เกิดจากการใช้งานในสายไฟฟ้าเอง 

  2. ฉนวนที่ห่อหุ้มบริเวณรอยต่อไม่ดีเลือกใช้ฉนวนที่เหมาะสมได้มาตรฐานเช่นบริเวณที่มีความร้อน 

  3. กระแสไหลผ่านมากเกินไป

  4. สายไฟฟ้าถูกกดทับความเสียหายของฉนวนที่เกิดจากการกดทับย่อมทำให้ลดอายุการใช้งานของสายไฟลดลง

การตรวจสอบความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า

  1. เมื่อเป็นวงจรควบคุมการเปิด-ปิด หลอดไฟฟ้า ให้ใช้เมกเกอร์ทดสอบ

  2. วิธีการทดสอบฉนวนของสายไฟฟ้าเมื่อเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย

การบำรุงรักษาฉนวนของสายไฟฟ้า

  • หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาด

  • ตรวจสอบกระแส

  • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันวงจรขนาดที่เหมาะสม

  • อย่าให้สายไฟฟ้าถูกแสงแดด

  • ระวังอย่าให้สายไฟฟ้าถูกกดทับด้วยสิ่ง

การตรวจสอบเซอร์กิตเบรกเกอร์

จุดที่ควรทำการตรวจเช็คในเซอร์กิตเบรกเกอร์ คือส่วนที่สามารถเคลื่อนไหวได้คันโยกจึงเป็นจุดตรวจสอบอันดับแรกๆ ทางกลของเซอร์กิตเบรกเกอร์ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบหน้า Contact และความเป็นฉนวนระหว่างขั้วสามารถแบ่ง ได้ดังนี้

  1. การตรวจสอบเชิงกล

  2. การตรวจสอบหน้าสัมผัสและความเป็นฉนวน

บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าประจำปี

ปัจจุบันปัญหาของระบบไฟฟ้าที่ขัดข้อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานขององค์กร หน่วยงาน การตรวจสอบความปลอดภัย ระบบไฟฟ้า บริการขึ้นมาเพื่อให้ ลูกค้าโรงงานอุตสาหกรรม สามารถใช้งานระบบไฟฟ้าในโรงงาน ได้อย่างมั่นใจและ มีความปลอดภัยสูง โดยการตรวจวัดค่าต่างๆทางไฟฟ้าได้ใช้เครื่องมือวัดเฉพาะด้าน ที่มีความเชื่อถือในทางอุตสาหกรรม 

วัตถุประสงค์ บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าประจำปี

  • เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิต และ ทรัพย์สิน

  • เพื่อสร้างความมั่นใจในระบบไฟฟ้า ที่มีความปลอดภัยพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

  • เพื่อแจ้งข้อบกพร่องเป็นรูปเล่ม ให้ทางลูกค้าทราบ เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขต่อไป

  • มีหนังสือรับรองความปลอดภัยระบบไฟฟ้าจากวิศวกรออกให้เพื่อยื่นให้หน่วยงานต่างๆ

รูปแบบต่างๆของงานบำรุงรักษา

  • งานซ่อมแซมหลังเหตุขัดข้อง 

  • งานบำรุงรักษาป้องกัน

  • งานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข

  • งานบำรุงรักษาทวีผล 

  • งานบำรุงรักษาโดยรวม

  • งานซ่อมแซมหลังเหตุขัดข้อง

  • งานบำรุงรักษาป้องกัน

  • งานบำรุงรักษาเชิงแก้ไข

  • งานบำรุงรักษาทวีผล

  • งานบำรุงรักษาโดยรวม 

งานทดสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า

ให้บริการทดสอบอุปกรณ์ และระบบไฟฟ้า ด้วยทีมงานที่ชำนาญการและมีประสบการณ์การทำงานสูง และบริการตรวจสอบ บำรุงรักษา อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าและระบบควบคุม ทั้งในระบบสถานีไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำ ประเภท

 

  • บำรุงรักษา อุปกรณ์ในระบบไฟฟ้าและระบบควบคุม ทั้งในระบบสถานีไฟฟ้าแรงสูงและแรงต่ำ ประเภท

  • หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง

  • อุปกรณ์ตัดตอนอัตโนมัติ 

  • สวิทช์ตัดตอน 

  • หม้อแปลงกระแสและแรงดัน 

  • คาซิเตอร์

  • ตู้สวิทช์เกียร์ 

  • อุปกรณ์ป้องกัน 

  • เครื่องมือวัด

  • อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

จัดทำโดยนายธรรมกรณ์ ทุมมา และ นายศุภณัฐ สินบุญ

bottom of page