top of page

หน่วยที่ 2 งานบริการและซ่อมระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

2.1 ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

2.2 การซ่อมบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

 

สาระสำคัญ

งานบริการและซ่อมระบบไฟฟ้าแสงสว่าง หมายถึง งานให้บริการซ่อม บำรุง ปรับปรุงระบบแสงสว่าง ในบ้านพักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่สาธารณะ การเลือกใช้หลอดไฟฟ้า ให้เหมาะสมกับกา รใช้งาน การมองเห็น ทั้งนี้เพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการทำงาน และความปลอดภัย

 

ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

การที่จะให้ได้ระบบแสงสว่างที่เหมาะสมเพื่อการมองเห็นอย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การทำกิจกรรมในพื้นที่ดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องคำนึงถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างอย่างเหมาะสมตามลักษณะการใช้งาน โดยพิจารณาจาก

ชนิดของหลอดไฟฟ้าแสงสว่าง

การใช้งานหลอดไฟอย่างถูกวิธีการบำรุงรักษาดูแล

หลอดทังสเตนหรือหลอดไส้

    กระแสไฟฟ้าที่ผ่านไส้หลอด จะทำให้ไส้หลอดร้อน และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึง 500 องศาเซลเซียส ไส้หลอดจะเริ่มเปล่งแสง พร้อมๆ กับปล่อยความร้อนออกมา ไส้หลอดยิ่งร้อนขึ้น แสงสว่างก็จะเพิ่มมากขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดกับโลหะทุกชนิด

หลอดทังสเตน-ฮาโลเจน

      มีการทำงานเหมือนหลอดไส้ ครอบแก้วทำด้วยควอทซ์ หรือแก้วแข็งเป็นพิเศษที่สามารถ ทนต่อความร้อนได้ดี มีทังสเตนเป็นไส้ที่ให้แสงสว่าง 

หลอดฟลูออเรสเซนต์

      เป็นหลอดแสงสว่างที่สามารถแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นแสงสว่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในร้านค้าและสำนักงาน การใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่บ้าน สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะในห้องน้ำ ห้องครัว และโรงรถ

หลอดแอลอีดี

      LED ย่อมาจาก Light Emitting Diode คือ ไดโอดเปล่งแสง ซึ่งสามารถเปล่งแสงออกมาได้ แสงที่เปล่งออกมาปะกอบด้วย คลื่นความถี่เดียวและเฟสต่อเนื่องกัน โดยหลอด LED สามารถเปล่งแสงได้เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ประสิทธิภาพของแสงที่เปล่งออกมา สามารถให้ความสว่างได้สูง

หลอดแสงจันทร์

      เป็นหลอดชนิดปล่อยประจุความเข้มสูง HID (High Intensity Discharge) ชนิดแรกที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น มีประสิทธิภาพแสงต่ำกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์เล็กน้อย

หลอดเมทัลฮาไลด์

     หลอดเมทัลฮาไลด์เป็นหลอดHIDอีกประเภทหนึ่งที่มีโครงสร้างและการทำงานคล้ายกับหลอดแสงจันทร์มากแต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า (อยู่ระหว่าง 60 ถึง 90 ลูเมนต่อวัตต์) และมีคุณภาพแสงดี แต่ต้องใช้เวลาอุ่นหลอดเมื่อเปิด เหมาะกับการใช้ส่องสินค้าในห้างสรรพสินค้า

หลอดโซเดียมความดันสูง

       เป็นหลอดที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาหลอด HID ด้วยกัน (ให้ประสิทธิภาพได้ถึง140 ลูเมนต่อวัตต์) แต่คุณภาพของแสงไม่ดี มักใช้กับไฟถนนหรือคลังสินค้า ไฟส่องบริเวณที่เปลี่ยนหลอดยาก พื้นที่นอกอาคาร

การใช้งานอย่างถูกวิธี

  • ปิดไฟเมื่อไม่ใช้งานเป็นเวลานานกว่า15นาทีจะช่วยประหยัดไฟโดยไม่มีผลกระทบต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์ เช่น ในช่วงพักเที่ยงของสำนักงาน ในห้องเรียน ในห้องน้ำ เป็นต้น

  • เปิดไฟเท่าที่จำเป็น หรือเฉพาะจุดที่ต้องใช้ไฟ เช่น บริเวณทางเดิน ในห้องที่มีคนอยู่หรือในห้องที่มีการทำงาน

  • สำหรับทางเดินในบ้าน หรือบริเวณที่ไม่ต้องใช้สายตามากนัก ทดลองใช้ไฟที่มีจำนวนวัตต์ น้อยๆ ก่อน และดูว่าแสงสว่างนั้นเพียงพอหรือไม่

  • ถ้าจำเป็นต้องเปิดไฟในบ้านหรือห้องนอนทิ้งไว้ทั้งคืน ควรใช้หลอดไฟวัตต์ต่ำ

  • ถ้าระบบแสงสว่างบางแห่งมีความสว่างสูงมากเกินความจำเป็น ควรจะถอดหลอดแสงสว่างบางส่วนออก พร้อมทั้งถอดบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ออก (กรณีที่ใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์)

 การบำรุงดูแลรักษา

  • ทำความสะอาดหลอดไฟและโคมไฟอยู่เสมอ เพราะฝุ่นละอองที่เกาะที่หลอดไฟหรือโคมไฟจะทำให้แสงสว่างลดน้อยลง และอาจเป็นเหตุให้ต้องเปิดหลอดไฟหลายดวงเพื่อให้ได้แสงสว่างเท่าเดิม

  • สำรวจระดับความสว่างและการใช้งานอยู่เสมอ

การตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้าที่ชำรุด

        การตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากเมื่อเราใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไปนาน ๆ ย่อมเกิดการชำรุดเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการเสียหายที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์การขาดความรู้ขาดการดูแลเอาใจใส่  แม้กระทั่งเกิดขึ้นเองตามสภาพการใช้งาน แต่เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว เราควรที่จะรีบทำการแก้ไขก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อตัวผู้ใช้หรือต่อทรัพย์สิน เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดอัคคีภัย ฯลฯดังนั้นเพื่อให้นักเรียนรู้วิธีการปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาเท่าที่เราสามารถกระทำได้แล้วยังนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ใชีวิตประจำวัน  

       1. การสำรวจสภาพความเสียหายของวงจรไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ 
       2. วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นของวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้า 
       3 .ดำเนินการแก้ไขตามสภาพของความเสียหาย

ขั้นตอนในการตรวจซ่อมอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้า

        

จัดทำโดยนายธรรมกรณ์ ทุมมา และ นายศุภณัฐ สินบุญ

bottom of page